รายงานผลการดำเนินงานปีที่ 1

รายงานผลการดำเนินงานปีที่ 1 

กิจกรรมของแต่ละแผนงานปีงบประมาณ 2563 
แผนงานที่ ๑ การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย 
๑.๑ การอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 
๑. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓  
๒. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ 
 ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า, ร้านอาหารภายในบริเวณโรงเรียน 
 ๔. จัดอบรมสร้างทีมงานวิทยากรของโรงเรียนประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร, คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา, ผู้ประกอบการ และแกนนำนักเรียน  
๕. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนชุมชน, สถานประกอบการหอพักที่มีที่ตั้งอยู่ติดกับบริเวณโรงเรียน 
๖. จัดอบรมการจัดทำแอปพลิชั่นสำหรับการรณรงค์โรงเรียนปลอดขยะให้แก่นักเรียนที่สนใจ 
๑.๒ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 
๑. จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ รณรงค์การคัดแยกขยะจากต้นทาง  
๒. จัดทำสื่อผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียนในการประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ 
๓. จ้างเหมาในการจัดทำสื่อ CD สำหรับประชาสัมพันธ์เชิญชวนการคัดแยกขยะ ภายในโรงเรียน 
๔. จ้างเหมาในการพิมพ์แผ่นพับประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะจากต้นทางของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร 
๑.๓ การศึกษาดูงานในพื้นที่/ชุมชนใกล้เคียง 
โดยจัดการศึกษาดูงานจากชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่จังหวัดน่าน ให้แก่แกนนำนักเรียน และคณะกรรมการของโรงเรียน จำนวน 50 คน จำนวน 1 ครั้ง และลงพื้นที่จริงเพื่อฝึกปฏิบัติการจิตอาสาร่วมกับแกนนำชุมชนในการส่งเสริมการคัดแยกขยะแก่นักท่องเที่ยว เพื่อนำความรู้ที่ได้นำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในโรงเรียน 
 แผนงานที่ ๒ การคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป 
๒.๑ การคัดแยกขยะอินทรีย์
๑. การส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์ประเภทเศษวัชพืช ใบไม้ต่างๆ โดยใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในการจัดซื้อไม้ไผ่ และอุปกรณ์ในการทำเสวียน ไว้ตามรอบโคนต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน 
๒. ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์จากโรงอาหาร 
๓. จัดอบรมให้ความรู้ในการทำน้ำหมักอินทรีย์ ปุ๋ยหมักอินทรีย์ให้แก่บุคลากรทางการศึกษา, นักการภารโรง และนักเรียน 
๒.๒ การคัดแยกขยะรีไซเคิล 
๑. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แบบRoll up เพื่อส่งเสริมการนำหลักการใช้หลัก 3 Rsลดการใช้(Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle) 
 ๒. จัดอบรมการประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ ให้แก่นักเรียน
๓. จัดทำที่รองรับขยะรีไซเคิล รูปทรงแบบบ้าน
 ๒.๓ การคัดแยกขยะอันตราย
๑. จัดทำตะแกรง/ตู้รวบรวมขยะอันตราย 
๒. จัดทำซุ้มสำหรับเป็นฐานเรียนรู้ขยะอันตรายสำหรับให้ความรู้แก่นักเรียน 
๒.๔ การคัดแยกขยะทั่วไป 
๑. คณะทำงานในการสุ่มตรวจ ทุก ๆ รอบ ๓ เดือน เพื่อชั่งปริมาณขยะของโรงเรียน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา 
๒. ซื้อตาชั่งประจำตึกเพื่อชั่งปริมาณขยะ 
แผนงานที่ ๓ การจัดการขยะแต่ละประเภท (เก็บรวมรวบ บำบัด หรือกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์) 
๓.๑ การจัดการขยะอินทรีย์ 
๑. จัดอบรมจัดทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองในแปลงสาธิตการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นฐานทักษะการเรียนรู้ขยะอินทรีย์ ทักษะการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ให้แก่นักเรียน 
๒. จัดทำสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ Roll up ชนิด จัดแสดงภายนอกอาคารได้ (Outdoor) เพื่อส่งเสริมในกระบวนการเรียนการสอนในการจัดการขยะอินทรีย์โดยการนำมาผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง เพื่อใช้ในฐานเรียนขยะอินทรีย์ และจัดแสดงสาธิตให้แก่ผู้สนใจได้เรียนรู้ 
๓. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ เช่นกระหล่ำปลี ผักสลัด ผักบุ้ง คะน้า ผักชี ฯ ตามช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมสนับสนุนให้แก่คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง, นักเรียนและครอบครัวที่มีบ้านพักอยู่ภายในบริเวณโรงเรียน เพื่อนำมาปลูกในแปลงสาธิตการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน และแปลงสาธิตของครอบครัว 
๔. จัดซื้อถังพลาสติกแบบมีฝาปิดเพื่อนำมาจัดการขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารโดยใช้หลักการ GREEN CONEในการกำจัดขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารจากโรงอาหารและครัวเรือน 
๕. การเลี้ยงสัตว์ในแปลงสาธิตการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเพื่อเป็นการสนับสนุนฐานเรียนรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ และต่อยอดในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพการฝึกปฏิบัติการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพให้แก่นักเรียน 
 ๓.๒ การจัดการขยะรีไซเคิล 
๑. สนับสนุนในการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล ในรูปของคณะกรรมการสภานักเรียน เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นสมุดบันทึก กระดาษ จัดทำทะเบียนสมาชิก ทะเบียนการรับซื้อสินค้า จัดทำป้ายบอกราคารับซื้อ และเป็นทุนในการรับซื้อขยะรีไซเคิลจากนักเรียน และส่งเสริมในรูปของการออมทรัพย์จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิล 
๒. จัดทำฐานเรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิลโดยการสร้างที่นั่งพักผ่อน, ที่อ่านหนังสือจากขยะรีไซเคิลและมุมสวนย่อมประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล 
๓. จัดอบรมการประดิษฐ์ของใช้เช่นถุงกระดาษ กล่องกระดาษ และดอกไม้จากกระดาษสา 
๔. จัดทำที่รองรับขยะรีไซเคิลแบบกรงตาข่ายแยกประเภทติดกัน ตั้งไว้พื้นที่ใกล้สหกรณ์โรงเรียน 
๕. จัดทำที่รองรับขยะรีไซเคิลแบบกรงเดี่ยว เพื่อสำหรับใส่ขวดพลาสติก ตั้งไว้ประจำโรงอาหาร และหน้าสหกรณ์ร้านค้า  
๓.๓ การจัดการขยะอันตราย 
๑. จัดทำฐานเรียนรู้ขยะอันตรายเพื่อส่งเสริมการในกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน สำหรับติดตามบอร์ดเรียนรู้ห้องพยาบาล และห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 
๓.๔ การจัดการขยะทั่วไป 
๑. จัดกิจกรรมการประกวดการมีส่วนร่วมของชั้นเรียน ในการลด คัดแยกขยะ และห้องเรียนสะอาดปราศจากขยะ โดยผ่านคณะกรรมการประเมินของโรงเรียนในรอบทุกๆ 3 เดือน 
๒. ประกวดนวัตกรรมจากการลด คัดแยกขยะ และการสร้างประโยชน์จากขยะ กิจกรรมฐานเรียนรู้ พี่สอนน้องช่วยกันลดปริมาณขยะภายในโรงเรียนด้วยพลังความสามัคคีในยุคของเรา, กิจกรรมการรณรงค์ใช้หลัก 3 Rsการลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่, กิจกรรมฐานเรียนรู้การประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล, กิจกรรมการนำขยะมาเป็นพลังงานทดแทน, กิจกรรมขยะเป็นทอง และอีกหลายๆ กิจกรรมภายใต้กิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ โดยจัดขึ้นทุกๆ ๖ เดือน 
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการการจัดการขยะดีเด่น โดยการประเมินของคณะกรรมการโรงเรียนในรอบทุก ๆ 3 เดือน สำหรับผู้ประกอบการดีเด่นจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และได้รับการจัดพิมพ์ภาพเจ้าของประกอบการดีเด่น 
 แผนงานที่ ๔ การติดตาม ประเมินผล และ การถอดบทเรียน สรุปผล และการจัดทำรายงาน 
๑. การติดตามประเมินผล ติดตามและประเมินผลในการดำเนินงานทุก ๆ ๓เดือน เพื่อจะได้รายงานผลให้กับหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ 
๒. การถอดบทเรียน สรุปผล และการจัดทำรายงานดำเนินการถอดบทเรียนชุดความรู้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน และจัดทำรายงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละแผนงาน และดำเนินการจัดเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

No comments:

Post a Comment