๖. แผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงาน


๖. แผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงาน
การดำเนินโครงการ ได้กำหนดแผนงานหลักและชื่อกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการประกอบด้วย ๔ แผนงาน ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะครบทั้ง ๔ ประเภทตามที่กำหนด (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล
ขยะอันตราย ขยะทั่วไป) โดยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ทั้งนี้ กิจกรรมอาจดำเนินการได้มากกว่าที่กำหนด ตามความเหมาะสม
 
๖.๑ ตารางเวลาการทำงาน
แผนงาน /กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน (รายไตรมาส)
ปีที่ ๑
ปีที่ ๒
แผนงานที่ ๑ การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย
๑.๑ การอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม เป้าหมาย จำนวน ๖ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ : นักเรียนชั้น ม.๑- ม.๓
กลุ่มที่ ๒ : นักเรียนชั้น ม.๔-ม.๖
กลุ่มที่ ๓ : ผู้ประกอบการร้านค้า  ร้านอาหารภายในโรงเรียน
กลุ่มที่ ๔ : ทีมงานวิทยากร











กลุ่มที่ ๕ : ผู้แทนชุมชน สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียน








กลุ่มที่ ๖ : อบรมการทำสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่ นักเรียนที่สนใจ








๑.๒ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ : การรณรงค์การคัดแยกขยะ การทำสื่อผ่านเวปไซด์ การทำสื่อแผ่น CD  แผ่นพับประชัมพันธ์








) จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ รณรงค์การคัดแยกขยะจากต้นทาง จำนวน ๖ บอร์ด








) จัดทำสื่อผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียนในการประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ








) การจัดทำสื่อ CD สำหรับประชาสัมพันธ์เชิญชวนการคัดแยกขยะ ภายในโรงเรียน








) การพิมพ์แผ่นพับประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะจากต้นทางของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร ปีละ ๑ ครั้งๆ








๑.๓ การศึกษาดูงานในพื้นที่ใกล้เคียง : ศึกษาดูงานจากชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีนักเรียนแกนนำ และคณะกรรมการโรงเรียน จำนวน ๕๐ คน








แผนงานที่ ๒ การคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ในบริเวณต่าง ๆในโรงเรียน
๒.๑ การคัดแยกขยะอินทรีย์








) การส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์ประเภทเศษวัชพืช ใบไม้ต่างๆ โดยใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในการจัดซื้อไม้ไผ่ และอุปกรณ์ในการทำเสวียนรอบโคนต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน








 ) ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์จากโรงอาหารโดยการจัดหาภาชนะประเภทถังพลาสติกหนาแบบหูหิ้วสำหรับการรองรับขยะประเภทเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด








) จัดอบรมให้ความรู้ในการทำน้ำหมักอินทรีย์ ให้แก่บุคลากรทางการศึกษา, นักการภารโรง และนักเรียนจำนวน ๒๐๐ คน เพื่อพัฒนาในการจัดทำฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะอินทรีย์








๒.๒ การคัดแยกขยะรีไซเคิล








) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แบบแผ่นพลาสวูดบอร์ด สำหรับติดประชาสัมพันธ์บริเวณในโรงอาหาร ร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการนำหลักการใช้หลัก ๓ Rs ลดการใช้(Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle) โรงเรียน โดยการเปลี่ยนภาชนะในการใส่อาหาร นำจากภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำ เช่นการใช้ชาน ชาม ช้อน แทนการใช้กล่องโฟม   หรือถุงพลาสติก เพื่อลดปริมาณขยะ








) จัดอบรมการประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ จำนวน ๒ ครั้ง  ให้แก่นักเรียน โดยแยกการอบรมออกเป็นระดับ ม.๑ - ม.๓  จำนวน ๑๐๐ คน และ ม.๔ม.๖  จำนวน ๑๐๐ คน








) จัดทำที่รองรับขยะทั่วไปรูปทรงแบบบ้าน มีประตูเปิดด้านหลัง ข้างในมีถังรองรับขยะรีไซเคิล ด้านบนมีหลังคาปิดกันฝน สร้างด้วยไม้เฌอร่า จำนวน ๒ จุด








๒.๓ การคัดแยกขยะอันตราย








) จัดทำตะแกรง/ตู้รวบรวมขยะอันตราย จำนวน ๑ ตู้ เพื่อรวบรวมขยะอันตราย ภายในโรงเรียน








) จัดทำซุ้มสำหรับเป็นฐานเรียนรู้ขยะอันตรายสำหรับให้ความรู้แก่นักเรียนได้เข้าใจลักษณะของขยะอันตรายแต่ละชนิด พิษจากขยะอันตรายที่เข้าสู่ร่างกาย ติดตั้งไว้มุมอาคารวิทยาศาสตร์ โดยตั้งไว้เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำ








๒.๔ การคัดแยกขยะทั่วไป








) สำหรับเป็นค่าอาหารและน้ำดื่มแก่คณะทำงานในการสุ่มตรวจ ทุก ๆ รอบ ๓ เดือน เพื่อชั่งปริมาณขยะของโรงเรียน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา








.) จัดซื้อตาชั่งประจำตึกเพื่อชั่งปริมาณขยะ จำนวน ๕ เครื่อง








) จัดทำที่รองรับขยะทั่วไปรูปทรงแบบบ้าน มีประตูเปิดด้านหลัง ข้างในมีถังรองรับขยะทั่วไป ด้านบนมีหลังคาปิดกันฝน สร้างด้วยไม้เฌรร่า จำนวน ๒ จุด 








แผนงานที่ ๓ การจัดการขยะแต่ละประเภท (เก็บรวบรวม บำบัด หรือกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์)
๓.๑ การจัดการขยะอินทรีย์








) จัดอบรมการจัดทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองในแปลงสาธิตการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นฐานทักษะการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ให้แก่นักเรียน จำนวน ๑๐๐ คน








) จัดทำสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ Roll up ชนิด จัดแสดงภายนอกอาคารได้ (Outdoor)  เพื่อส่งเสริมในกระบวนการเรียนการสอนในการจัดการขยะอินทรีย์เพื่อใช้ในฐานเรียนขยะอินทรีย์ และจัดแสดงสาธิตให้แก่ผู้สนใจได้เรียนรู้ จำนวน ๔ ป้าย








) กิจกรรมฐานการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจอพเยงของโรงเรียน และแปลงสาธิตของครอบครัวที่มีบ้านพักอยู่ภายในโรงเรียน ได้แก่ การจัดซื้อเมล็ดผัก เพื่อประกอบในการปลุก และส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพการฝึกปฏิบัติการเรียนการสอน








) การจัดการขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารโดยใช้หลักการ GREEN CONE ในการกำจัดขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารจากโรงอาหารและครัวเรือน 








) การเลี้ยงสัตว์ในแปลงสาธิตการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเพื่อเป็นการสนับสนุนฐานเรียนรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ และต่อยอดในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพการฝึกปฏิบัติการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพให้แก่นักเรียน 








) การจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้รถเข็น เพื่อดำเนินการจัดการขยะภายในโรงเรียน








) การจัดการทำปุ๋ยหมัก จากเศษกิ่งไม้ ต้นไม้ จัดซื้อเครื่องย่อยสับกิ่งไม้








๓.๒ การจัดการขยะรีไซเคิล








1) การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล ในรูปของคณะกรรมการสภานักเรียน งานปรับปรุงซ่อมแซมธนาคารขยะ และการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานโครงการ








2) จัดทำฐานเรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิลโดยการสร้างที่นั่งพักผ่อน, ที่อ่านหนังสือจากขยะรีไซเคิลและมุมสวนย่อมประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล








3) จัดอบรมการทำกระดาษสาจากขยะรีไซเคิลจำนวน 2 ครั้งให้แก่นักเรียนและครอบครัวที่สนใจสมัครเข้ารับการอบรมโดยตั้งเป็นกลุ่มกระดาษสา จำนวน 100 คน ครั้งละ 50 คน 








4) จัดอบรมการประดิษฐ์ของใช้เช่นถุงกระดาษ กล่องกระดาษ และดอกไม้จากกระดาษสา จำนวน 2 ครั้ง โดยการจัดอบรมจำนวน 2 วันให้แก่นักเรียนชั้น ม.1 – ม.3 จำนวน 1 ครั้ง, ให้แก่นักเรียนชั้น ม.4 – ม.๖ จำนวน 1 ครั้ง








5) วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ธนาคารขยะโรงเรียน และภายในโรงเรียน ประกอบด้วย เครื่องชั่งปริมาณขยะ  ที่รองรับขยะรีไซเคิล แบบกรงตาข่าย และแบบกรงเดี่ยว








๓.๓ การจัดการขยะอันตราย








จัดทำฐานเรียนรู้ขยะอันตรายเพื่อส่งเสริมการในกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนโดยจ้างออกแบบในการจัดทำป้าย  พลาสวูดขยะอันตรายจำนวน 4 จุด (จัดทำปีละ 2 จุด) สำหรับห้องพยาบาล และห้องเรียนวิทยาศาสตร์








๓.๔ การจัดการขยะทั่วไป








1) จัดกิจกรรมการประกวดการมีส่วนร่วมของชั้นเรียน ในการลด คัดแยกขยะ และห้องเรียนสะอาดปราศจากขยะ โดยผ่านคณะกรรมการประเมินของโรงเรียนในรอบทุกๆ 3 เดือน ประกอบด้วย การประกวดการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ลด คัดแยกขยะ การมอบป้ายสัญลักษณ์ เพื่อเป็นรางวัล








2) จัดกิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ ดำเนินการโดยสภานักเรียน ภายในกิจกรรมมีการประกวดนวัตกรรมจากการลด คัดแยะขยะ และการสร้างประโยชน์จากขยะ กิจกรรมฐานเรียนรู้ พี่สอนน้องช่วยกันลดปริมาณขยะภายในโรงเรียนด้วยพลังความสามัคคีในยุคของเรากิจกรรมการรณรงค์ใช้หลัก 3 Rs การลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่กิจกรรมฐานเรียนรู้การประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิลกิจกรรมการนำขยะมาเป็นพลังงานทดแทน, กิจกรรมขยะเป็นทอง (ธนาคารขยะโดยการเปิดให้มีการสมัครสมาชิก และการส่งเสริมการออมจากขยะ และอีกหลายๆ กิจกรรมภายใต้กิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ  โดยจัดขึ้นทุกๆ ๖ เดือน








3) จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการการจัดการขยะดีเด่น โดยการประเมินของคณะกรรมการโรงเรียนในรอบทุก ๆ 3 เดือน สำหรับผู้ประกอบการดีเด่นจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และได้รับการจัดพิมพ์ภาพเจ้าของประกอบการดีเด่น








แผนงานที่ ๔ การติดตาม ประเมินผล และการถอดบทเรียน
๔.๑ การติดตาม ประเมินผล มีการประเมินการดำเนินการ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ทุกๆ ๓ เดือน








๔.๒ การถอดบทเรียน  สรุปผล และการจัดทำรายงาน จัดเวทีสรุปบทเรียน ผลการดำเนินงาน









No comments:

Post a Comment