๓. ความสอดคล้องและความสัมพันธ์กับนโยบายรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาประเทศ
โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย
ยุทธศาสตร์ และแผนจัดการสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆ (เฉพาะนโยบาย/ยุทธศาสตร์/แผน
ที่มีประเด็นสอดคล้องกับโครงการฯ) ดังนี้
๓.๑
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ในประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข้อที่ ๓ แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม โดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะตกค้างสะสมในพื้นที่วิกฤต
ผลักดันกฎหมายและกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ สนับสนุนการแปรรูปเป็นพลังงาน
ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เกิดการลดปริมาณขยะ
รวมทั้งสร้างวินัยคนในชาติเพื่อ
การจัดการขยะอย่างยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำวิกฤตและลุ่มน้ำสำคัญอย่างครบวงจร แก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควันไฟป่าในเขตภาคเหนือและภาคใต้
ปรับปรุงกฎหมายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๓.๒ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ ป้องกัน รักษา
และฟื้นฟู คุณภาพสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ ๑
สิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการให้มีคุณภาพดี ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล -
ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐ ภายในปี ๒๕๖๙ - ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐ ภายในปี ๒๕๗๔
๓.๓ นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙มี ๔ นโยบายหลัก ๑๒ นโยบายย่อย ๓๘ ตัวชี้วัด ๑๑๖ แนวนโยบาย ในนโยบายที่
๒ สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน เป้าประสงค์ของ นโยบายคือ
ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพบนฐานการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างระบบการผลิตและบริโภคที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดของเสียและมลพิษน้อยที่สุด ประกอบด้วย ๓ นโยบายย่อยคือมี ๔ นโยบายหลัก ๑๒ นโยบายย่อย ๓๘ ตัวชี้วัด ๑๑๖ แนวนโยบาย ในนโยบายที่
๒ สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน เป้าประสงค์ของ นโยบายคือ
ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพบนฐานการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างระบบการผลิตและบริโภคที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดของเสียและมลพิษน้อยที่สุด ประกอบด้วย ๓ นโยบายย่อยคือมี ๔ นโยบายหลัก ๑๒ นโยบายย่อย ๓๘ ตัวชี้วัด ๑๑๖ แนวนโยบาย ในนโยบายที่
๒ สร้างการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน เป้าประสงค์ของ นโยบายคือ
ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพบนฐานการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างระบบการผลิตและบริโภคที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดของเสียและมลพิษน้อยที่สุด ประกอบด้วย ๓ นโยบายย่อยคือ นโยบายที่
๒.๑ สร้างระบบเศรษฐสังคมที่เกื้อกูลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มี ๔
ประเด็นหลักได้แก่ การจัดการวัสดุและขยะ
การจัดการคุณภาพน้ำ การจัดการคุณภาพอากาศ และการจัดการความเสี่ยงจาก สารเคมี นโยบายที่ ๒.๓ สร้างภูมิคุ้มกันต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และส่งเสริมการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำมี ๒ ประเด็นหลักได้แก่
การปรับตัวเพื่อสร้างความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
และ การลดก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยมี ๑๔
ตัวชี้วัด (๒) สัดส่วนการนำขยะ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (เพิ่มขึ้น) (๓) ปริมาณขยะที่เข้าระบบกำจัดขั้นสุดท้าย (ตัน)
(ลดลง)ในประเด็นข้อที่ ๗.๑ แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙
ไปสู่การปฏิบัติ
การถ่ายทอดนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙
เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแนวนโยบาย และสามารถเกิดผลในทางปฏิบัติ
บรรลุเป้าประสงค์ และเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจาก
ทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในทุกระดับทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา องค์การระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน
ตลอดจนภาคประชาชนอย่างเหมาะสมและ ต่อเนื่อง
๓.๔ แผนพัฒนาจังหวัดน่าน
(พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
ประเด็นข้อ ๑๐
โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรโดยการมีส่วนร่วม
กลยุทธที่ ๔ ในหน้า ๒๔๗ มีกิจกรรมดังนี้ -
กิจกรรม ๑ การอบรมสร้างพื้นฐานความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอย -
กิจกรรม ๒ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียน - กิจกรรม
๓ ดำเนินกิจกรรมการประกวดชุมชนปลอดขยะสำหรับชุมชนในพื้นที่ อปท.ที่เข้าร่วมโครงการ -
กิจกรรม ๔ ดำเนินกิจกรรมการประกวดโรงเรียนปลอดขยะสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ -
กิจกรรม ๕ ดำเนินกิจกรรมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
การบริหารจัดการขยะมูลฝอยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ - กิจกรรม ๖ การก่อสร้างบ่อขยะด้วยระบบการฝังกลบแบบประยุกต์
๓.๕ แผนบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ๔.๐ สู่ประเทศที่พัฒนาแล้วจากฐานของท้องถิ่น ๔.๔ ระดมพลังจากองค์กรภาคีทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ประชาชนในการร่วมกับท้องถิ่น เพื่อการสร้างความอุดมสมบูรณ์ รักษา และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้าง แหล่งพลังงานในท้องถิ่นเพื่อการพึ่งตนเอง และการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน และสมดุล ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา ข้อ ๓. ส่งเสริม สนับสนุน และการวางมาตรการในการจัดการปัญหาขยะในท้องถิ่น โดยการมุ่งเน้น การแก้ปัญหาการคัดแยกขยะ การจัดการขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะ ให้กำหนดเป็นวาระการพัฒนาของท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศ ตามแนวทางดังนี้
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะในท้องถิ่น โดยนำหลัก ๓Rs มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหาการจัดการขยะ - ออกมาตรการบังคับให้มีชุมชนต้นแบบด้านการลดและคัดแยกขยะอย่างน้อย ๑ ชุมชน ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้กำหนดตัวชี้วัดเรื่องขยะให้เป็นตัวชี้วัด ของหน่วยงาน และเผยแพร่และประชาสัมพันธ์หน่วยงาน/ชุมชนที่มีการจัดการขยะดีเด่น - มีการประกวดท้องถิ่น/ชุมชนที่เป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะดีเด่นระดับจังหวัด ภาค ประเทศ - ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำขยะไปผลิตเป็นพลังงานในท้องถิ่น เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยหมัก หรือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นต้น- ศึกษาแนวทางในการสร้างมาตรการบังคับให้มีการคัดแยกขยะจากครัวเรือนและมีการกำหนด ค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่างกันตามประเภทของขยะ และการพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะ ให้เป็นศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากขยะ เช่น การเพาะปลูกพืชจากปุ๋ยขยะแบบกระป๋อง - ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ โดยจัดการกำจัดขยะเอง ซึ่งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้งบประมาณเป็นค่าจัดการขยะเพื่อเป็นแรงจูงใจในการจัดเก็บ คัดแยก เพิ่มมูลค่า โดยการแปรสภาพเป็นปุ๋ยหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อ ๔. การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รองรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน ตามแนวทางดังนี้ - รวบรวมข้อมูล Best practice ของการจัดการขยะชุมชนดีเด่นทั่วประเทศ เพื่อให้เป็น แหล่งศึกษาเรียนรู้หรือการศึกษาดูงานออนไลน์ ทั้งข้อมูลภาพและเสียง
๓.๖
แผนบริหารงานการสอนด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่านและสอดคล้องกับพันธกิจของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน
ดังนี้ ข้อ ๑. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
ข้อ ๒. พัฒนาสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
ข้อ ๔.
พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ข้อ ๕.
พัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้น นโยบาย
และแนวทางปฏิรูปการศึกษา ข้อ ๖. พัฒนาครู ผู้บริหาร
บุคลากรทางการศึกษาข้อ ๗. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนมาตรฐานสากลข้อ ๘. พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล วิจัยและพัฒนา๓.๗ แผน/นโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) - แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา นโยบายที่ ๙ การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ข้อ ๙.๕ เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย
- ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ในยุทธศาสตร์ชาติที่ ๕ การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๑ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลประเด็นการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
No comments:
Post a Comment