รายงานผลการดำเนินงานปีที่ 2

 รายงานผลการดำเนินงานปีที่ 1 

โครงการต้นแบบในการจัดการฐานเรียนรู้ การจัดการขยะภายในโรงเรียน ต่อยอดการดำเนินงานสู่ชุมชน  ปีงบประมาณ 2564 ปีที่ 2  งบประมาณจำนวน 297,825  บาท
1. กิจกรรมคงเหลือจากปีงบประมาณ 2563  จำนวน 1 กิจกรรม คือ  กิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ
2. กิจกรรมของแต่ละแผนงานปีงบประมาณ 2564

แผนงานที่ 1 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย
1.1 การอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
   1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้แทนชุมชน, สถานประกอบการหอพักที่มีที่ตั้งอยู่ติดกับบริเวณโรงเรียน จำนวน 50 คน จำนวน 1 ครั้ง
   2.จัดอบรมการสร้างคลิปวิดีโอ ให้แก่นักเรียนในการผลิตสื่อสำหรับการบริหารจัดการขยะภายในโรงเรียนเพื่อการเผยแพร่ และสนับสนุนการเรียนรู้สื่อคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนที่สนใจ จำนวน 4 รุ่น ๆ จำนวน 30 คน (ปีละ 2 รุ่น) รวมจำนวน 120 คน  อบรมรุ่นละ 2 วัน
1.2 การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
1. จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ รณรงค์การคัดแยกขยะจากต้นทาง
2. จ้างเหมาจัดทำสื่อผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียนในการประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ ภายในโรงเรียน
3. จ้างเหมาในการพิมพ์แผ่นพับประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะจากต้นทางของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
แผนงานที่ 2 การคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป
2.1 การคัดแยกขยะอินทรีย์
  1.การส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์ประเภทเศษวัชพืช ใบไม้ต่างๆ 8soCfP12Ph19mi914zQaZz2KsGGtcANVhVVfKAnmVRqM และอุปกรณ์ในการทำเสวียน ไว้ตามรอบโคนต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน 
  2.ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์จากโรงอาหารโดยการจัดหาภาชนะประเภทถังพลาสติกหนาแบบหูหิ้ว สำหรับการรองรับขยะประเภทเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด
   3.จัดอบรมให้ความรู้ในการทำน้ำหมักอินทรีย์ ให้แก่บุคลากรทางการศึกษา, นักการภารโรง และนักเรียนจำนวน 100 คน เพื่อพัฒนาในการจัดทำฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะอินทรีย์ จำนวน 1 ครั้ง
2.2 การคัดแยกขยะรีไซเคิล
     1.จัดอบรมการประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน ให้แก่นักเรียน โดยแยกการอบรมออกเป็นระดับ ม.1 - ม.3 จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 100 คน และ ม.4 – ม.6 จำนวน 1 ครั้ง  จำนวน 100 คน
2.จัดทำที่รองรับขยะทั่วไปรูปทรงแบบบ้าน มีประตูเปิดด้านหลัง ข้างในมีถังรองรับขยะรีไซเคิล ด้านบนมีหลังคาปิดกันฝน สร้างด้วยไม้เฌอร่า จำนวน 2 จุด
      
2.3 การคัดแยกขยะอันตราย
  1.จัดทำซุ้มสำหรับเป็นฐานเรียนรู้ขยะอันตรายสำหรับให้ความรู้แก่นักเรียนได้เข้าใจลักษณะของขยะอันตรายแต่ละชนิด พิษจากขยะอันตรายที่เข้าสู่ร่างกาย ติดตั้งไว้มุมอาคารวิทยาศาสตร์
2.4 การคัดแยกขยะทั่วไป
    1.การสุ่มตรวจ ทุก ๆ รอบ 3 เดือน เพื่อชั่งปริมาณขยะของโรงเรียน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา
    2.จัดทำที่รองรับขยะทั่วไปรูปทรงแบบบ้าน มีประตูเปิดด้านหลัง ข้างในมีถังรองรับขยะทั่วไป ด้านบนมีหลังคาปิดกันฝน สร้างด้วยไม้เฌอร่า จำนวน 2 จุด
แผนงานที่ 3  การจัดการขยะแต่ละประเภท
  1.จัดอบรมการจัดทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกองในแปลงสาธิตการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นฐานทักษะการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ให้แก่นักเรียน จำนวน 100 คน
  2.จัดหารถเข็น 4 ล้อโครงเหล็กสีน้ำเงิน ขนาด 70X 130 CM  มอก.เหล็กหนาพิเศษ ล้อเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 17 นิ้ว
3.2 การจัดการขยะรีไซเคิล
   1.จัดทำฐานเรียนรู้การจัดการขยะรีไซเคิลโดยการสร้างที่นั่งพักผ่อน, ที่อ่านหนังสือจากขยะรีไซเคิลและมุมสวนย่อมประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล
   2.จัดอบรมการทำกระดาษสาจากขยะรีไซเคิลจำนวน 2 ครั้งให้แก่นักเรียนและครอบครัวที่สนใจสมัครเข้ารับการอบรมโดยตั้งเป็นกลุ่มกระดาษสา จำนวน 100 คน ครั้งละ 50 คน
   3 .จัดอบรมการประดิษฐ์ของใช้เช่นถุงกระดาษ กล่องกระดาษ และดอกไม้จากกระดาษสา จำนวน 2 ครั้ง โดยการจัดอบรมจำนวน 2 วันให้แก่นักเรียนชั้น ม.1 – ม.3 จำนวน 1 ครั้ง, ให้แก่นักเรียนชั้น ม.4 – ม.6 จำนวน 1 ครั้ง (รวมการจัดการอบรม จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน)
3.3 การจัดการขยะอันตราย
  จัดทำฐานเรียนรู้ขยะอันตรายเพื่อส่งเสริมการในกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนโดยจ้างออกแบบในการจัดทำป้าย  พลาสวูดขยะอันตรายจำนวน 4 จุด (จัดทำปีละ 2 จุด) สำหรับห้องพยาบาล และห้องเรียนวิทยาศาสตร์
3.4 การจัดการขยะทั่วไป
   1.จัดกิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ ดำเนินการโดยสภานักเรียน ภายในกิจกรรมมีการประกวดนวัตกรรมจากการลด คัดแยะขยะ และการสร้างประโยชน์จากขยะ กิจกรรมฐานเรียนรู้ พี่สอนน้องช่วยกันลดปริมาณขยะภายในโรงเรียนด้วยพลังความสามัคคีในยุคของเรา,  กิจกรรมการรณรงค์ใช้หลัก 3 Rs การลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่,  กิจกรรมฐานเรียนรู้การประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิล,  กิจกรรมการนำขยะมาเป็นพลังงานทดแทน, กิจกรรมขยะเป็นทอง (ธนาคารขยะโดยการเปิดให้มีการสมัครสมาชิก และการส่งเสริมการออมจากขยะ และอีกหลายๆ กิจกรรมภายใต้กิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนปลอดขยะ  โดยจัดขึ้นทุกๆ 6 เดือน (ปีละ 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ใน 2 ปีงบประมาณ)
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการการจัดการขยะดีเด่น โดยการประเมินของคณะกรรมการโรงเรียนในรอบทุก ๆ 3 เดือน (จำนวน 4 ครั้ง ในปีงบประมาณ) สำหรับผู้ประกอบการดีเด่นจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และได้รับการจัดพิมพ์ภาพเจ้าของประกอบการดีเด่น
แผนงานที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และการถอดบทเรียน
- การติดตาม ประเมินผล ของคณะกรรมการในการติดตามประเมินผล และการจัดประชุมของคณะกรรมการในรอบทุกๆ ๓ เดือน
- ๔.๒.การถอดบทเรียน สรุปผล และการจัดทำรายงานสรุปถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมในแต่ละแผนงานในรอบปี งบประมาณ

No comments:

Post a Comment