การจัดการขยะอินทรีย์

การจัดการขยะอินทรีย์

                   ต้นทางขยะอินทรีย์จากโรงอาหาร ได้แก่จำพวกเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ทางโรงเรียนได้จัดหาถังพลาสติกมาวางไว้สำหรับรองรับ เพื่อนำเศษอาหารไปใช้สำหรับการไปใช้เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ครูบุคลากรนำไปเลี้ยงสัตว์ที่บ้าน ส่วนบริเวณบ้านพักที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง ส่งเสริมให้ใช้ถังหมักรักษ์โลก จัดเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารโดยใช้หลักการ GREEN CONE และขยะอินทรีย์จำพวกเศษผักผลไม้ ส่งเสริมให้นำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  


           การนำขยะอินทรีย์มาเป็นอาหารให้แก่สัตว์เลี้ยง ซึ่งภายในบริเวณโรงเรียนมีสระ และจัดกิจกรรมปล่อยปลาเนื่องในโอกาสพิธีสำคัญๆ จึงนำเศษอาหารบางส่วนมาเป็นอาหารให้แก่สัตว์เลี้ยงจำพวกนี้ เพื่อลดปริมาณขยะ และนำหลัก ๓ Rs = Recycle กลับมาใช้ใหม่การเลี้ยงสัตว์ในแปลงสาธิตการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเพื่อสนับสนุนฐานเรียนรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ และพัฒนาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาชีพการฝึกปฏิบัติการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพให้แก่นักเรียน
             การจัดการขยะอินทรีย์ จำพวกเศษใบไม้ ใบหญ้าภายในบริเวณโรงเรียน  ทางโรงเรียนได้มีนโยบายส่งเสริมการลดการเผาเพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก  จึงเปลี่ยนจากการเผามาใช้ภูมิปัญญาในการจัดทำเสวียน และจัดหาเครื่องสับย่อย สำหรับการนำมาสับกิ่งไม้ จากการตัดต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน และนำกระบวนการเรียนรู้          ในการเรียนการสอน ในการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ให้แก่นักเรียน และวางจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่นักเรียน

 

         การบูรณาการในกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน ด้วยการการลดการใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟมโดยเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้า และวัสดุธรรมชาติ

          นำปุ๋ยหมักที่ได้มาใช้ในฐานเรียนรู้ในแปลงผักปลอดสารพิษ และฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง, การทำน้ำหมักอินทรีย์ การทำฮอร์โมนไข่ของนักเรียน ซึ่งแต่ละฐานการเรียนรู้จะมีการบูรณาการการเรียนการสอนกับวิชาต่างๆ เช่นวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำผลจากการดำเนินงานมาใส่เพื่อเผยแพร่ในการเรียนรู้


กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ บูรณาการในการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในกิจกรรมการนำขยะอินทรีย์

มาเป็นพลังงานทดแทน




No comments:

Post a Comment