๑.๒ สภาพปัญหาในพื้นที่ดำเนินโครงการ



๑.๒ สภาพปัญหาในพื้นที่ดำเนินโครงการ
๑.๒.๑ การบริหารจัดการขยะของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน มีการจัดเตรียมถังขยะไว้สำหรับรองรับขยะตามจุดต่าง ๆ ภายในบริเวณโรงเรียน ในแต่ละวันจะมอบหมายหน้าที่ให้นักการภารโรงจัดเก็บถังรองรับขยะตามจุดต่างๆ มารวบรวมไว้ที่โรงขยะของโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้รถขยะของเทศบาลตำบลดู่ใต้ มาเก็บในช่วงเช้าทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เว้นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ซึ่งปริมาณขยะของโรงเรียนในแต่ละวันมีปริมาณวันละ ๑.๕ ตัน (เดือนละ ๓๐ ตัน) โดยทางโรงเรียนจะจ่ายค่าธรรมเนียมในการเก็บขนขยะให้แก่เทศบาลดู่ใต้เดือนละ ๒,๕๐๐.- บาท จากข้อมูลของเทศบาลตำบลดู่ใต้
๑.๒.๒ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน สามารถแบ่งปัญหาในการจัดการขยะในพื้นที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน ดังนี้
      ๑) ปัญหาครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนขาดจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง  
          แต่เดิมโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน บริหารจัดการขยะในพื้นที่ของโรงเรียน โดย
ฝังกลบ การเผา และวิธีอื่นๆ ของในแต่ละวันซึ่งขยะที่นำมาทิ้งส่วนใหญ่จะเป็นขยะเปียก และขยะรีไซเคิล รองลงมาจะเป็นขยะทั่วไป และขยะอันตรายที่มีปริมาณน้อยที่สุด ต่อมาได้มีการบริหารจัดการขยะโดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือเทศบาลตำบลดู่ใต้ เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลดู่ใต้ เมื่อมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดู่ใต้ขึ้น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช ๒๕๓๗ และมีอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยเทศบาลตำบลดู่ใต้ได้จัดรถบริการเก็บขยะตามชุมชนต่าง ๆ และขยะจากโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่านมาทิ้งในบ่อขยะของเทศบาลเมืองน่าน โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมในการกำจัดกิโลกรัมละ ๑.๒๐ บาท  จากข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนในแต่ละวันที่มีปริมาณเฉลี่ยวันละ ๑.๕ ตัน เดือนละ ๓๐ ตัน (การจัดเก็บสัปดาห์ละ
๕ วัน) ส่งผลให้เทศบาลตำบลดู่ใต้ต้องรับภาระในค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าในการกำจัดขยะให้แก่เทศบาลเมืองน่านเฉลี่ยเดือนละ ๓๖,๐๐๐.
- บาท (สามหมื่นหกพันบาท) ยังไม่รวมค่าต้นทุนจากค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าสึกหรอของรถบรรทุกขยะในการซ่อมแซมและซ่อมบำรุง
          ขยะมูลฝอยภายในโรงเรียนส่วนใหญ่ประกอบด้วยขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารกลางวัน, ใบไม้ กิ่งไม้ และขยะอินทรีย์จากครัวเรือนที่มีบ้านพักอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนขยะรีไซเคิลประเภทกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก เศษเหล็กโลหะต่างๆ และกล่องนม และขยะที่มีส่วนน้อยประกอบด้วยขยะทั่วไป และขยะอันตราย    ทางโรงเรียนจึงใช้วิธีในการสุ่มตรวจวัดปริมาณขยะจากขยะทั่วไปที่นำมาทิ้งก่อนที่ทางเทศบาลตำบล   ดู่ใต้ มารับนำไปกำจัดยังบ่อขยะของเทศบาลเมืองน่าน จากการสุ่มตรวจคัดแยกขยะออก ๔ ประเภท พบว่าจากปริมาณขยะในจำนวน ๒๐๐ ลิตร สามารถหาค่าเฉลี่ยในสัดส่วนของปริมาณขยะแต่ละประเภทดังนี้




        
๑. ขยะอินทรีย์  จำนวน ๔๕ % (ประเภทที่พบได้แก่เศษผัก เปลือกผลไม้ ไม้เสียบลูกชิ้น   เศษอาหาร ขนม และใบไม้)
          ๒. ขยะรีไซเคิล  จำนวน ๑๘ % (ประเภทที่พบได้แก่กระดาษ ถุงพลาสติกขวดน้ำพลาสติก)
          ๓. ขยะอันตราย จำนวน  ๐.๑ % (ประเภทที่พบได้แก่หลอดไฟ, มือถือเก่า และถ่านไฟฉาย)
          ๔. ขยะทั่วไป จำนวน ๓๖.๙ % (ประเภทที่พบได้แก่ซองพลาสติกใส่ขนมกระดาษเคลือบมัน กล่องโฟม กระดาษชำระ เศษผ้า นอกจากนี้ยังพบถุงพลาสติกที่เปื้อนเศษอาหารและบรรจุอาหารที่มีกลิ่นเน่า)
ตารางเปรียบเทียบปริมาณขยะ
          ซึ่งขยะเหล่านี้หากมีการจัดการที่ต้นทางด้วยวิธีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท และกระบวนใน
การจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนสามารถลดปริมาณขยะทั่วไปลงได้อีกจำนวนมาก (ข้อมูลจากโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน เดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๑
จากสภาพปัญหาของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีพื้นที่กว้างขวาง สภาพแวดล้อมอยู่ใกล้ชุมชน บรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนขาดการพัฒนา สร้างสรรค์ให้มีคุณภาพ ประกอบกับภายในบริเวณโรงเรียนสถานที่ต่างๆ และห้องเรียน มีขยะจำนวนมากและมีขยะหลายชนิด เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติก ถุงพลาสติก เศษกระดาษ  ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ขยะจากโรงอาหารและเศษอาหารต่างๆ ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค  นักเรียนบางกลุ่มมีพฤติกรรมทิ้งไม่ถูกที่ ไม่รับผิดชอบขยะของตนเอง เห็นได้จากมีขยะซุกซ่อนตามบริเวณต้นไม้ โต๊ะเก้าอี้ ที่นั่งและตามซอกมุมต่างๆ อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นปัญหาต่อการกำจัดขยะของโรงเรียนและส่งผลต่อการสภาพบรรยากาศสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

    ๒) ปัญหาขาดงบประมาณในการดำเนินงาน
          ในการประเมินผลการมีส่วนร่วมของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการ ดำเนินงานโรงเรียนปลอดขยะ  โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ Srisawat Class Cleaning สอบถามผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป  โดยสอบถาม ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและ ด้านผลผลิต สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ Srisawat Class Cleaning  พิจารณาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
          จากตารางที่ ๑ แสดงข้อมูลของผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ Srisawat Class Cleaning พิจารณาโดยภาพรวม พบว่า  มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก คือด้านสภาวะแวดล้อม ค่าเฉลี่ย๓.๗๔ ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๕  ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๓  และมีระดับความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง คือด้านปัจจัย มีค่าเฉลี่ย ๓.๔๕  เมื่อพิจารณาภาพรวมทุกด้านมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๖๒
          สำหรับด้านปัจจัย มีระดับความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง พบว่า การได้รับงบประมาณสนับสนุนยังไม่เพียงพอ เนื่องจากงบประมาณส่วนมากต้องนำไปใช้ในการพัฒนางานวิชาการที่เป็นภารกิจของโรงเรียนโดยตรง


No comments:

Post a Comment