ในการดำเนินงานโรงเรียนปลอดขยะโรงเรียนเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของนักเรียน
ครูและบุคลากรในโรงเรียนที่ต้องเป็นหลักในการดำเนินการในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง ระบบคัดแยกขยะจากต้นทาง
การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ และกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมผู้เรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนการพัฒนางานตามรูปแบบการบริหารจัดการขยะตามบริบทของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ S.W.Model ได้พัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของ
ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ภาคีเครือข่ายทั้ง ๔ ฝ่าย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการที่ปรึกษาและชุมชนร่วมกันบริหารงานของสถานศึกษาทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดังนี้
๓.๑ การบริหารโดยครูมีส่วนร่วม การบริหารโดยครูมีส่วนร่วม
ให้ครูมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ
ร่วมประเมินผลและร่วมพัฒนาผลงานเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นโดยให้ครูมีส่วนร่วมในรูปองค์คณะบุคคลโดยการจัดให้มีครูเป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
คณะกรรมการดำเนินงานในแผนดำเนินงานโดยจัดให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถและมาตรฐานตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ครูสังกัดเพื่อให้คณะครูมีส่วนร่วมในการบริหารคณะกรรมการปกครองและดูแลนักเรียนเพื่อให้ครูได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำเพื่อการพัฒนาครูพัฒนางานเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของครู
๓.๒
การบริหารโดยนักเรียนมีส่วนร่วม โดยให้สภานักเรียนเป็นแกนนำในการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะ
นำไปจัดทำเป็นแผนในการพัฒนาโรงเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ร่วมดำเนินงาน
รวมทั้งเป็นจิตอาสาในการพัฒนาห้องเรียน อาคารเรียน สภาพแวดล้อมในโรงเรียน
เพื่อให้นักเรียนตระหนักและมีจิตสำนึกในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
๓.๓
การบริหารโดยผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วม โดยให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับทราบนโยบายในการดำเนินงานของโรงเรียนในการจัดการจัดการขยะ
ในวันประชุมผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งคณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู
ชุมชนเทศบาลดู่ใต้ ผู้ประกอบการหอพัก หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน
ได้รับทราบและแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
๓.๔ การบริหารโดยคณะกรรรมการ ๔
องค์กรหลักของโรงเรียนมีส่วนร่วม คณะกรรรมการ
๔ องค์กรหลักของโรงเรียนประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าสุริยานุเคราะห์และศรีสวัสดิ์วิทยาคาร และมูลนิธิศรีสวัสดิ์ มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ
ร่วมเสนอแนวคิด ร่วมวางแผนพัฒนาโรงเรียนในการบริหารจัดการขยะเต็มตามศักยภาพ
ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายโดยให้สอดคล้องกัลกิจกรรมเดิมที่ได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการบูรณาการและไม่ทำให้เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น
ให้ทุกคนดำเนินการบ่อยๆ
เกิดจนเป็นนิสัยที่คงทนถาวรเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทุกคนต้องร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไปโดยได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้
การคัดแยกขยะอินทรีย์
๑. การจัดทำเสวียนรอบโคนต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน
ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์ประเภทเศษวัชพืช ใบไม้ต่างๆ
โดยใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยอบรมให้ความรู้วิธีการให้กับนักเรียนแกนนำ
นักการภารโรงเรียน ให้ดำเนินการ
และช่วยกันจัดการขยะอินทรีย์มาเก็บไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
๑. ส่งเสริมการคัดแยกขยะอินทรีย์จากโรงอาหารโดยการจัดหาภาชนะประเภทถังพลาสติกหนาแบบหูหิ้วสำหรับการรองรับขยะประเภทเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด
และนักเรียนเพื่อพัฒนาในการจัดทำฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะอินทรีย์
๑. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์แบบแผ่นพลาสวูดบอร์ด
เพื่อส่งเสริมการนำหลักการใช้หลัก 3 Rs
ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle)
๑. ให้นักเรียนจัดคัดแยกขยะโดยจัดจุดคัดแยกขยะในแต่อาคารเรียนโดยให้แม่บ้านนักการภารโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและจัดการนำไปคัดแยกเพื่อนำไปจำหน่ายหรือรีไซเคิลต่อไป
๑. ในห้องเรียนให้นักเรียนจัดคัดแยกขยะในห้องเรียน
ประกวดห้องเรียนสีขาว
การคัดแยกขยะอันตราย
๑. จัดทำซุ้มสำหรับเป็นฐานเรียนรู้ขยะอันตรายสำหรับให้ความรู้แก่นักเรียนได้เข้าใจลักษณะของขยะอันตรายแต่ละชนิด
พิษจากขยะอันตรายที่เข้าสู่ร่างกาย ติดตั้งไว้มุมอาคารวิทยาศาสตร์
๑. จัดทำฐานเรียนรู้ขยะติดเชื้อสำหรับให้ความรู้แก่นักเรียนได้เข้าใจลักษณะของขยะติดเชื้อการทิ้งขยะขยะติดเชื้อ
หน้ากากอนามัย ติดตั้งไว้ห้องพยาบาล
การคัดแยกขยะทั่วไป
๑. คณะทำงานในการสุ่มตรวจ
ทุก ๆ รอบ 3 เดือน เพื่อชั่งปริมาณขยะของโรงเรียน
เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา
No comments:
Post a Comment